อาชีพในฝัน วิศวะโยธา
วิศวกรรมโยธา หมายถึง การออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น วิศวกรรมโยธาเป็นอุตสาหกรรมที่เจริญรุ่งเรือง และมีบทบาทในการสนับสนุนทั้งกิจการของภาครัฐและเอกชน ผู้เรียนจบด้านวิศวกรรมโยธา สามารถเลือกทำงานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น วิศวกรรรมโครงสร้าง วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงวิศวกรรมนาโนเทคโนโลยี สาขาวิชานี้จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จากนักศึกษาที่สนใจเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์
ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดว่างานด้านวิศวกรรมโยธา ต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วมนุษย์เริ่มรู้จักการก่อสร้างมาตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานคือสิ่งปลูกสร้างในยุคแรกๆ ของมนุษย์ที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน อย่างเช่น พีระมิดอียิปต์โบราณ และกำแพงเมืองจีน สิ่งปลูกสร้างในยุคแรกของมนุษย์ นอกจากใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ก็ยังสร้างขึ้นเพื่อใช้ในทางทหารค่อนข้างเยอะ ต่อมาในยุคศตวรรษที่ 18 ได้มีการแบ่งแยกระหว่างวิศวกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อการทหาร ออกจากวิศวกรรมโยธาทั่วไปอย่างชัดเจน
ศิษย์เก่าของสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สามารถเลือกทำงานได้หลากหลาย โดยสายงานที่สามารถทำได้นั้น ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่เลือกเรียนมาจากมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ บัณฑิตส่วนใหญ่มักทำงานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง, งานด้านวิศวกรรมโครงสร้างและการผลิต หรือทำงานด้านการอนุรักษ์
รายได้เฉลี่ยเริ่มต้นของผู้จบสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาในประเทศอังกฤษอยู่ที่ 23,720 ปอนด์ต่อปี (ประมาณ 1,126,000 บาท) ทักษะทางด้านวิศวกรรมเป็นศาสตร์ที่สำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ของสังคมเป็นอย่างยิ่ง อาชีพทางด้านนี้จึงมีค่าตอบแทนสูงและเป็นที่ต้องการตัวของตลาดแรงงาน อุตสาหกรรมโยธาเป็น อุตสาหกรรมที่สำคัญระดับโลก วิศวกรโยธาที่มีศักยภาพสูงและมีความสามารถเฉพาะทาง จึงอาจมีโอกาสได้เดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศ
แต่หากไม่ต้องการทำงานด้านวิศวกรรมโยธาโดยตรง บัณฑิตก็สามารถศึกษาต่อเพิ่มเติมในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นและเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น เพื่อทำงานด้านธุรกิจ กฎหมาย วารสารศาสตร์ หรืองานด้านการสอน
ประวัติส่วนตัว
1.ชื่อ ด.ช.นพรัตน์ ไชยดี
2.อายุ 15
3.ชื่อเล่น ต้อม
4.เกิดวันที่ 19 ก.พ.44
5.ครอบครัวมีอยู่ 4 คน พ่อ แม่ พี่ ผม
6.พ่อทำงาน รับจ้างทั่วไป
แม่ทำงาน แม่บ้าน
7.ที่อยู่ 33/77 ถนนสุขสวัสดิ์2 แขวงจอมทองเขต จอมทอง จ.กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์10150
8.สีที่ชอบ สีขาว-ดำ
9.กีฬาที่ชอบ ฟุตบอล
10.ชอบกิน ข้าวต้มกุ้ง
11.วิชาที่ชอบ พละศึกษา
12.อนาคตอยากเป็น วิศวะโยธา
13.งานอดิเรก ฟังเพลง
14.สิ่งที่อยากทำให้พ่อแม่ อยากให้พ่อแม่สุขสบาย
15.คติประจำใจ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
การเตรียมตัวไปแคมปิ้ง หลายๆท่านที่อยู่อาศัยในตัวเมือง หรือศูนย์การค้าเป็นหลักที่คิดจะเริ่มลองออกไปแสวงหาธรรมชาติพิสุทธิ์และงดงาม ต้องหัดเตรียมตัวกันนิดนึงก่อน โดยทั่ว ๆ ไปวิธีที่ง่ายสุดคือไปกับคนที่รู้ไม่งั้นก็ไปกินอยู่กันลำบากแน่ แบบไม่สนุกเพราะขาดการเตรียมตัวที่ดีนั่นเอง จนอีกหน่อยเที่ยวไป ๆ ของในเป้คุณจะน้อยลงไปเองโดยอัตโนมัติและความลำบากเล็ก ๆ น้อย ๆ จะกลับกลายเป็นเรื่องสนุกไป มือใหม่อย่างเราควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเพราะเรายังไม่รู้ความต้องการใช้สิ่งของที่แท้จริง ในป่า ซึ่งแต่ละคนมีไม่เท่ากัน
การหาข้อมูลก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ...ต้องเลือกจุดหมายปลายทางที่จะไปเสียก่อน ที่เที่ยวอย่าง เขาใหญ่ แก่งกระจาน ปัจจุบันก็หนาแน่นไปด้วยผู้คนและร้านค้าจนแทบไม่ต้องเตรียมอะไรแล้วครับ แต่ถ้าเริ่มต้นเดินป่า ค้างแรมที่ ๆ แปลกออกไปสักนิด (แน่นอนว่าบรรยากาศย่อม "สด" กว่าฮะ เลือกให้ตรงใจว่าจะไปที่ไหนแน่ ดูให้ตรงกับฤดูกาลด้วย เช่นไปน้ำตกที่มีโอกาสเจอน้ำป่าหรืออุทกภัยช่วง เดือนตุลาคมก็คงไม่ปลอดภัย ก็เลี่ยงไปเปนการเดินทุ่งดอกไม้หรือไปทางอีสานซึ่งสวยสุดหน้าเดียวคือหน้าฝนซะเลย อย่างนี้เป็นต้น แหล่งข้อมูลทางหนังสือที่มีก็ทั้งอนุสาร อสท. หนังสือทริป แหล่งท่องเที่ยว ATG สารคดี Update แหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เนท
จากนั้นก็เป็นการวางแผน..... อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น เดินเข้าป่าดุ่ม ๆ ไปนี่ก็คงจะมีแต่ชาวบ้านกะพรานที่อยู่แถวนั้นที่เขาทำกัน เราต้องวางแผนก่อนว่าจะไปกันยังไงดี บางที่ขืนตะบึงตะบันขับรถไปเอง แต่เจอทางยากเดินเหนื่อย ขาขับรถกลับ จะอันตรายเปล่า ๆ รึจะลองไปรถหวานเย็นดู ไม่ก็ลองนั่งรถไฟหรือโบกรถกันซะเลย นอกจากนี้ก็ต้องรู้ว่าจะไปกันกี่วัน บางคนไปยอดเขาแห่งหนึ่ง ยังเผื่อไว้ 9 วันครับ เดินจริงไม่ถึงหรอก แต่ต้องเผื่อหลงไว้ เพราะเป็นเส้นที่ไม่มีใครเคยเดิน สักกี่คน มือใหม่คงเอาแค่หอมปากหอมคอ ถ้าไปได้ในวันธรรมดาก็จะดีมาก เพราะคนไม่เยอะครับแต่ถ้าทำไม่ได้ก็หลีกเลี่ยงเทศกาล ที่มีผู้คนมากมายเหลือเกิน อาจทำให้ท่านเสียความรู้สึกซะเปล่า ๆ
เมื่อวางแผนเรียบร้อย และได้เดินทางไปจนถึงที่เริ่มเดินเท้าแล้ว เราจะต้องตรวจดูความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ทุกชิ้นก่อนว่าอยู่ครบถ้วนหรือไม่ โดยปกติแล้วเมื่อเก็บข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ลงในเป้หลังแล้ว จะพบว่าข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ จะมีที่ที่เหมาะสมของมันอยู่แล้วตามช่องเป้หลังต่าง ๆ เมื่อท่านเริ่มเดินป่าไปหลาย ๆ ครั้ง ทุกอย่างก็จะเข้าที่ไปโดยอัตโนมัติ แต่ช่วงแรกควรถามผู้ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน จะทำให้เราได้รับความรู้และประโยชน์มากที่สุด ก่อนจะเริ่มเดินทางสัก 30 นาที ขอให้ดื่มน้ำให้อิ่มและเติมน้ำในกระติกให้เต็ม เพราะน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องเก็บไว้ใช้ และขอแนะนำว่าให้นำอาหารแห้ง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรืออาหารกระป๋องและข้าวสารใสไปในสัมภาระส่วนตัวของคุณสัก 1 ชุดไว้ก่อนเสมอ ในกรณีที่มีคนหาบสัมภาระให้ แต่ถ้าหากไม่มีคนหาบก็ขอให้แบ่งอาหารกระจายไปในกลุ่มโดยทั่วถึงกันเป็นชุด ๆ เผื่อว่าในกรณีที่พลัดหลงกันจะได้มีอาหารรับประทานกันทุกคน และอีกอย่างหนึ่งที่จะละเลยกันไม่ได้ก็คือ การศึกษาเส้นทางที่เราจะเดินทางไป เพราะในบางครั้งอาจมีลำธารมาขวางกั้น หรืออาจมีป่าทึบมากจนไม่สามารถ ผ่านไปได้ ทำให้เราต้องเปลี่ยนทิศทางในการเดิน หรือถ้าคุณต้องการเดินทางไปให้ถึงหมู่บ้านของชาวบ้านท้องถิ่นให้เดินเลาะลำธารและแม่น้ำ เพราะชาวบ้านมักจะอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำชุมทางแม่น้ำทุกแห่ง มักจะเป็นเส้นทางการคมนาคม และประกอบการค้าของชาวบ้านเสมอ เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการผจญภัยให้เต็มที่ จึงควรตรวจดูแผนที่และทิศทางก่อนที่จะเริ่มออกเดินทางด้วย
เมื่อทุกอย่างได้เตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางแล้ว เราก็เริ่มออกเดินทางกันได้เลย ในการเดินทางนั้นควรจะเดินไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องเดินทางเป็นเส้นตรงเลยทีเดียว เมื่อพบว่าจะมีสิ่งกีดขวาง ก็ให้พยายามใช้วิธีหลีกเลี่ยงเพื่อเป็นการออมกำลังไว้ จึงไม่ควรใช้กำลังฝ่าอุปสรรคนั้นเข้าไปโดยไม่จำเป็น เช่น เดินหลบเลี่ยงไปสักหน่อยดีกว่าที่เราจะต้องใช้กำลังบุกฝ่าป่าที่รกทึบเข้าไป เพียงเพราะมองเห็นแค่ระยะทางสั้นกว่า และในการเดินป่าไม่ควรเดินอย่างรีบร้อน แต่ควรเดินพิจารณาไปอย่างช้า ๆ และมองดูสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันสัตว์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามทางเดิน ตลอดเวลาของการเดินทางต้องใช้ความระมัดระวังให้เป็นพิเศษ อย่าเดินด้วยความซุ่มซ่าม เพราะจะทำให้เกิดการฟกฟ้ำดำเขียวหรือบาดแผลขึ้นกับตัวเราได้ อีกทั้งยังต้องฝึกตัวเองให้เป็นคนที่มีสายตาว่องไว และคุ้นเคยกับสภาพของป่า นั่นคือการหัดสังเกตสิ่งที่กีดขวางให้ดีเสียก่อน ซึ่งการใช้สายตาในการสังเกตจะใช้ 2 ลักษณะคือ
1. ใช้สายตามองแบบกว้าง ๆ เมื่อตอนแรกที่เรามองป่า ก็มองสภาพทั่ว ๆ ไปของป่า ก้มมองสภาพทั่ว ๆ ไปของป่า กวาดสายตาไปอย่างรวดเร็วให้ทั่วบริเวณนั้น เก็บสภาพทั่ว ๆ ไปของบริเวณนั้นเอาไว้ก่อน เช่น ลักษณะของป่า ลักษณะของกลุ่มไม้ แนวเส้นทาง ฯลฯ
2. ใช้สายตามองเฉพาะจุด เมื่อเรามองสภาพทั่ว ๆ ไป ของป่าแล้ว จากนั้นให้มองพิจารณาจุดเด่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ต้นไม้มีขนาดใหญ่หรือมีสีสันที่แปลกออกไปจากต้นอื่น ๆ ที่สังเกตและจำได้ง่าย นักเดินป่าที่ดีไม่ควรใช้เสียงในการเดินทาง หากจำเป็นก็ขอให้เสียงที่ใช้นั้นเบาที่สุดและน้อยครั้งที่สุด ใช้ประสาททั้งหมดจดจ่ออยู่กับธรรมชาติให้มากที่สุด ทั้งประสาทตา ประสาทหูและประสาทจมูก ควรทำการตรวจสอบทิศทางในการเดินทางอยู่เสมอ คือควรจะรู้ว่าตัวเราและคณะกำลังมุ่งไปทิศทางใดบ้าง เช่น มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกบางครั้งก็หักเหไปทางตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเล็กน้อย พอหยุดพักก็หมั่นตรวจสอบกับแผนที่ จะทำให้เราสามารถคาดคะเนได้ว่า เราอยู่ตรงจุดใดของพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาดและถูกต้องที่สุด เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ ที่เราคาดไม่ถึง
เมื่อการเดินทางของเราจะต้องเดินตามลำห้วย จะต้องใช้ความระมัดระวังให้ดี ขอแนะนำว่าห้ามถอดรองเท้าเดินในลำห้วยเพราะอาจจะทำให้เท้าบาดเจ็บ ซึ่งจะทำให้กลายมาเป็นอุปสรรคในการเดินป่า จึงควรยอมให้รองเท้าเปียกจะดีกว่า เนื่องจากในลำน้ำอาจมีหอยที่เปลือกบางแตกบาดเราได้ แม้ว่าจะช่วยทรงตัวได้ดีกว่าบ้างก็ตาม ในขณะเดินป่าควรป้องกันอันตรายจากแมลงต่าง ๆ โดยการสวมเสื้ออยู่ตลอดเวลา อย่าถลกแขนเสื้อขึ้นถ้าไม่ได้อยู่ในที่โล่งแจ้งที่มีอากาศโปร่งสบาย จงพยายามปกปิดทุกส่วนของร่างกาย ในการเดินป่าถ้าพบกิ่งไม้ที่เป็นราหรือหญ้าเขียว ที่เป็นฝอยที่เกิดขึ้นทั่วไป ควรจะเดินหลีกเลี่ยงเพราะหากว่าเราเดินเหยียบอาจจะทำให้ลื่น จนถึงขั้นหกล้มได้ ในกรณีที่เกิดการพลัดหลงกันอย่าได้ตะโกนเรียกหากันโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เหนื่อยเปล่า อีกประการหนึ่งก็คือการกู่เรียกโดยไม่รู้ถึงวิธีการ ที่ถูกต้องนั้นจะยิ่งทำให้ยิ่งหลงทิศหนักเข้าไปอีก ควรจะใช้วิธีการเคาะหรือตีต้นไม้สูง ๆ ด้วยท่อนไม้ เพราะจะทำให้เกิดเสียงได้ยินก้องไปไกลกว่าเสียงก้องตะโกน ในเวลากลางคืนสัตว์ป่าทั้งหลายจะเดินตามลำห้วยและตามสันเขา ดังนั้นเราควรจะอยู่ให้ห่างจากบริเวณดังกล่าว หากจะเดินทางออกไปจากที่พักและมีความต้องการที่จะเดินกลับเข้ามาอีกในภายหลังควรจะต้องทำเครื่องหมายไว้ตามทางที่เดินไปให้เห็นอย่างชัดเจนเพื่อที่จะสามารถกลับที่พักได้อย่างถูกต้องและไม่พลัดหลง ในการเดินทางข้ามลำห้วยคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ควรเดินข้ามคู่ไปกับคนที่ว่ายน้ำเป็น เพื่อที่จะได้ช่วยดูแลช่วยเหลือกันได้ เพราะคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นมักจะตื่นกลัวแม้ว่าน้ำไม่ลึกนัก ยิ่งถ้าข้ามรวมเป็นกลุ่มเดียวกันแล้วก็จะมีปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในการข้ามลำห้วยหรือลำธารถ้าน้ำไม่ลึกมากนักเพื่อความปลอดภัยของตัวเรา ควรใช้เชือกขึงข้ามลำธารไว้พยุงตัวไม่ให้ลื่นล้ม เพื่อเป็นการป้องกันที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
ในการเดินป่าย่อมจะมีจุดหมายปลายทางที่เรากำหนดไว้ว่าจะต้องไปให้ถึง แต่บางครั้งการเดินทางสู่จุดหมายอาจจะมีทางเลือกให้เดินหลายเส้นทาง แต่เราควรจะพิจารณา ถึงหลัก 3 ประการคือ ความปลอดภัย ความสะดวกในการเดินทาง และระยะทางซึ่งทั้ง 3 ประการนี้ เราจะต้องนำมาพิจารณาเข้าด้วยกัน เพื่อหาเส้นทางที่เหมาะสมในการเดินทาง แต่ทว่าในเส้นทางนั้นอาจมีอุปสรรค สิ่ง กีดขวาง หรือภูมิประเทศที่แตกต่างกันออกไป เราจึงมีข้อแนะนำถึงวิธีการเดินผ่านภูมิประเทศต่าง ๆ
การหาข้อมูลก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ...ต้องเลือกจุดหมายปลายทางที่จะไปเสียก่อน ที่เที่ยวอย่าง เขาใหญ่ แก่งกระจาน ปัจจุบันก็หนาแน่นไปด้วยผู้คนและร้านค้าจนแทบไม่ต้องเตรียมอะไรแล้วครับ แต่ถ้าเริ่มต้นเดินป่า ค้างแรมที่ ๆ แปลกออกไปสักนิด (แน่นอนว่าบรรยากาศย่อม "สด" กว่าฮะ เลือกให้ตรงใจว่าจะไปที่ไหนแน่ ดูให้ตรงกับฤดูกาลด้วย เช่นไปน้ำตกที่มีโอกาสเจอน้ำป่าหรืออุทกภัยช่วง เดือนตุลาคมก็คงไม่ปลอดภัย ก็เลี่ยงไปเปนการเดินทุ่งดอกไม้หรือไปทางอีสานซึ่งสวยสุดหน้าเดียวคือหน้าฝนซะเลย อย่างนี้เป็นต้น แหล่งข้อมูลทางหนังสือที่มีก็ทั้งอนุสาร อสท. หนังสือทริป แหล่งท่องเที่ยว ATG สารคดี Update แหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เนท
จากนั้นก็เป็นการวางแผน..... อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น เดินเข้าป่าดุ่ม ๆ ไปนี่ก็คงจะมีแต่ชาวบ้านกะพรานที่อยู่แถวนั้นที่เขาทำกัน เราต้องวางแผนก่อนว่าจะไปกันยังไงดี บางที่ขืนตะบึงตะบันขับรถไปเอง แต่เจอทางยากเดินเหนื่อย ขาขับรถกลับ จะอันตรายเปล่า ๆ รึจะลองไปรถหวานเย็นดู ไม่ก็ลองนั่งรถไฟหรือโบกรถกันซะเลย นอกจากนี้ก็ต้องรู้ว่าจะไปกันกี่วัน บางคนไปยอดเขาแห่งหนึ่ง ยังเผื่อไว้ 9 วันครับ เดินจริงไม่ถึงหรอก แต่ต้องเผื่อหลงไว้ เพราะเป็นเส้นที่ไม่มีใครเคยเดิน สักกี่คน มือใหม่คงเอาแค่หอมปากหอมคอ ถ้าไปได้ในวันธรรมดาก็จะดีมาก เพราะคนไม่เยอะครับแต่ถ้าทำไม่ได้ก็หลีกเลี่ยงเทศกาล ที่มีผู้คนมากมายเหลือเกิน อาจทำให้ท่านเสียความรู้สึกซะเปล่า ๆ
เมื่อวางแผนเรียบร้อย และได้เดินทางไปจนถึงที่เริ่มเดินเท้าแล้ว เราจะต้องตรวจดูความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ทุกชิ้นก่อนว่าอยู่ครบถ้วนหรือไม่ โดยปกติแล้วเมื่อเก็บข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ลงในเป้หลังแล้ว จะพบว่าข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ จะมีที่ที่เหมาะสมของมันอยู่แล้วตามช่องเป้หลังต่าง ๆ เมื่อท่านเริ่มเดินป่าไปหลาย ๆ ครั้ง ทุกอย่างก็จะเข้าที่ไปโดยอัตโนมัติ แต่ช่วงแรกควรถามผู้ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน จะทำให้เราได้รับความรู้และประโยชน์มากที่สุด ก่อนจะเริ่มเดินทางสัก 30 นาที ขอให้ดื่มน้ำให้อิ่มและเติมน้ำในกระติกให้เต็ม เพราะน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องเก็บไว้ใช้ และขอแนะนำว่าให้นำอาหารแห้ง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรืออาหารกระป๋องและข้าวสารใสไปในสัมภาระส่วนตัวของคุณสัก 1 ชุดไว้ก่อนเสมอ ในกรณีที่มีคนหาบสัมภาระให้ แต่ถ้าหากไม่มีคนหาบก็ขอให้แบ่งอาหารกระจายไปในกลุ่มโดยทั่วถึงกันเป็นชุด ๆ เผื่อว่าในกรณีที่พลัดหลงกันจะได้มีอาหารรับประทานกันทุกคน และอีกอย่างหนึ่งที่จะละเลยกันไม่ได้ก็คือ การศึกษาเส้นทางที่เราจะเดินทางไป เพราะในบางครั้งอาจมีลำธารมาขวางกั้น หรืออาจมีป่าทึบมากจนไม่สามารถ ผ่านไปได้ ทำให้เราต้องเปลี่ยนทิศทางในการเดิน หรือถ้าคุณต้องการเดินทางไปให้ถึงหมู่บ้านของชาวบ้านท้องถิ่นให้เดินเลาะลำธารและแม่น้ำ เพราะชาวบ้านมักจะอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำชุมทางแม่น้ำทุกแห่ง มักจะเป็นเส้นทางการคมนาคม และประกอบการค้าของชาวบ้านเสมอ เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการผจญภัยให้เต็มที่ จึงควรตรวจดูแผนที่และทิศทางก่อนที่จะเริ่มออกเดินทางด้วย
เมื่อทุกอย่างได้เตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางแล้ว เราก็เริ่มออกเดินทางกันได้เลย ในการเดินทางนั้นควรจะเดินไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องเดินทางเป็นเส้นตรงเลยทีเดียว เมื่อพบว่าจะมีสิ่งกีดขวาง ก็ให้พยายามใช้วิธีหลีกเลี่ยงเพื่อเป็นการออมกำลังไว้ จึงไม่ควรใช้กำลังฝ่าอุปสรรคนั้นเข้าไปโดยไม่จำเป็น เช่น เดินหลบเลี่ยงไปสักหน่อยดีกว่าที่เราจะต้องใช้กำลังบุกฝ่าป่าที่รกทึบเข้าไป เพียงเพราะมองเห็นแค่ระยะทางสั้นกว่า และในการเดินป่าไม่ควรเดินอย่างรีบร้อน แต่ควรเดินพิจารณาไปอย่างช้า ๆ และมองดูสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันสัตว์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามทางเดิน ตลอดเวลาของการเดินทางต้องใช้ความระมัดระวังให้เป็นพิเศษ อย่าเดินด้วยความซุ่มซ่าม เพราะจะทำให้เกิดการฟกฟ้ำดำเขียวหรือบาดแผลขึ้นกับตัวเราได้ อีกทั้งยังต้องฝึกตัวเองให้เป็นคนที่มีสายตาว่องไว และคุ้นเคยกับสภาพของป่า นั่นคือการหัดสังเกตสิ่งที่กีดขวางให้ดีเสียก่อน ซึ่งการใช้สายตาในการสังเกตจะใช้ 2 ลักษณะคือ
1. ใช้สายตามองแบบกว้าง ๆ เมื่อตอนแรกที่เรามองป่า ก็มองสภาพทั่ว ๆ ไปของป่า ก้มมองสภาพทั่ว ๆ ไปของป่า กวาดสายตาไปอย่างรวดเร็วให้ทั่วบริเวณนั้น เก็บสภาพทั่ว ๆ ไปของบริเวณนั้นเอาไว้ก่อน เช่น ลักษณะของป่า ลักษณะของกลุ่มไม้ แนวเส้นทาง ฯลฯ
2. ใช้สายตามองเฉพาะจุด เมื่อเรามองสภาพทั่ว ๆ ไป ของป่าแล้ว จากนั้นให้มองพิจารณาจุดเด่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ต้นไม้มีขนาดใหญ่หรือมีสีสันที่แปลกออกไปจากต้นอื่น ๆ ที่สังเกตและจำได้ง่าย นักเดินป่าที่ดีไม่ควรใช้เสียงในการเดินทาง หากจำเป็นก็ขอให้เสียงที่ใช้นั้นเบาที่สุดและน้อยครั้งที่สุด ใช้ประสาททั้งหมดจดจ่ออยู่กับธรรมชาติให้มากที่สุด ทั้งประสาทตา ประสาทหูและประสาทจมูก ควรทำการตรวจสอบทิศทางในการเดินทางอยู่เสมอ คือควรจะรู้ว่าตัวเราและคณะกำลังมุ่งไปทิศทางใดบ้าง เช่น มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกบางครั้งก็หักเหไปทางตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเล็กน้อย พอหยุดพักก็หมั่นตรวจสอบกับแผนที่ จะทำให้เราสามารถคาดคะเนได้ว่า เราอยู่ตรงจุดใดของพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาดและถูกต้องที่สุด เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ ที่เราคาดไม่ถึง
เมื่อการเดินทางของเราจะต้องเดินตามลำห้วย จะต้องใช้ความระมัดระวังให้ดี ขอแนะนำว่าห้ามถอดรองเท้าเดินในลำห้วยเพราะอาจจะทำให้เท้าบาดเจ็บ ซึ่งจะทำให้กลายมาเป็นอุปสรรคในการเดินป่า จึงควรยอมให้รองเท้าเปียกจะดีกว่า เนื่องจากในลำน้ำอาจมีหอยที่เปลือกบางแตกบาดเราได้ แม้ว่าจะช่วยทรงตัวได้ดีกว่าบ้างก็ตาม ในขณะเดินป่าควรป้องกันอันตรายจากแมลงต่าง ๆ โดยการสวมเสื้ออยู่ตลอดเวลา อย่าถลกแขนเสื้อขึ้นถ้าไม่ได้อยู่ในที่โล่งแจ้งที่มีอากาศโปร่งสบาย จงพยายามปกปิดทุกส่วนของร่างกาย ในการเดินป่าถ้าพบกิ่งไม้ที่เป็นราหรือหญ้าเขียว ที่เป็นฝอยที่เกิดขึ้นทั่วไป ควรจะเดินหลีกเลี่ยงเพราะหากว่าเราเดินเหยียบอาจจะทำให้ลื่น จนถึงขั้นหกล้มได้ ในกรณีที่เกิดการพลัดหลงกันอย่าได้ตะโกนเรียกหากันโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เหนื่อยเปล่า อีกประการหนึ่งก็คือการกู่เรียกโดยไม่รู้ถึงวิธีการ ที่ถูกต้องนั้นจะยิ่งทำให้ยิ่งหลงทิศหนักเข้าไปอีก ควรจะใช้วิธีการเคาะหรือตีต้นไม้สูง ๆ ด้วยท่อนไม้ เพราะจะทำให้เกิดเสียงได้ยินก้องไปไกลกว่าเสียงก้องตะโกน ในเวลากลางคืนสัตว์ป่าทั้งหลายจะเดินตามลำห้วยและตามสันเขา ดังนั้นเราควรจะอยู่ให้ห่างจากบริเวณดังกล่าว หากจะเดินทางออกไปจากที่พักและมีความต้องการที่จะเดินกลับเข้ามาอีกในภายหลังควรจะต้องทำเครื่องหมายไว้ตามทางที่เดินไปให้เห็นอย่างชัดเจนเพื่อที่จะสามารถกลับที่พักได้อย่างถูกต้องและไม่พลัดหลง ในการเดินทางข้ามลำห้วยคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ควรเดินข้ามคู่ไปกับคนที่ว่ายน้ำเป็น เพื่อที่จะได้ช่วยดูแลช่วยเหลือกันได้ เพราะคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นมักจะตื่นกลัวแม้ว่าน้ำไม่ลึกนัก ยิ่งถ้าข้ามรวมเป็นกลุ่มเดียวกันแล้วก็จะมีปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในการข้ามลำห้วยหรือลำธารถ้าน้ำไม่ลึกมากนักเพื่อความปลอดภัยของตัวเรา ควรใช้เชือกขึงข้ามลำธารไว้พยุงตัวไม่ให้ลื่นล้ม เพื่อเป็นการป้องกันที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
ในการเดินป่าย่อมจะมีจุดหมายปลายทางที่เรากำหนดไว้ว่าจะต้องไปให้ถึง แต่บางครั้งการเดินทางสู่จุดหมายอาจจะมีทางเลือกให้เดินหลายเส้นทาง แต่เราควรจะพิจารณา ถึงหลัก 3 ประการคือ ความปลอดภัย ความสะดวกในการเดินทาง และระยะทางซึ่งทั้ง 3 ประการนี้ เราจะต้องนำมาพิจารณาเข้าด้วยกัน เพื่อหาเส้นทางที่เหมาะสมในการเดินทาง แต่ทว่าในเส้นทางนั้นอาจมีอุปสรรค สิ่ง กีดขวาง หรือภูมิประเทศที่แตกต่างกันออกไป เราจึงมีข้อแนะนำถึงวิธีการเดินผ่านภูมิประเทศต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น